การอ่านชื่อตามระบบ IUPAC ของ สารประกอบโคออร์ดิเนชัน

การอ่านชื่อสารประกอบโคออร์ดิเนชันตามระบบ IUPAC ได้ถูกกำหนดใว้ใน NOMENCLATURE OF INORGANIC CHEMISTRY (IUPAC Recommendations 2005) [7] โดยสรุปได้ ดังนี้

  • ให้อ่านชื่อลิแกนด์ก่อนชื่อของอะตอมกลาง
  • ไม่มีช่องว่างระหว่างแต่ละส่วนภายในเอกลักษณ์โคออร์ดิเนชันเดียวกัน
  • ให้ชื่อของลิแกนด์เรียงตามลำดับอักษร (คำนำหน้า (prefix) ที่ใช้ระบุจำนวนลิแกนด์จะไม่นำมาพิจารณาลำดับอักษรด้วย)
  • IUPAC ไม่เห็นด้วยในการใช้อักษรย่อในชื่อ [8]
  • ชื่อลิแกนด์ที่มีประจุลบให้เปลี่ยนชื่อลงท้ายเป็นโดยให้ตัด -e แล้วเปลี่ยนเป็นเสียง -o [9] เช่น sulphate เปลี่ยนเป็น sulphato, cyanide เปลี่ยนเป็น cyanido, chloride เปลี่ยนเป็น chlorido หรือ iodide เปลี่ยนเป็น iodido เป็นต้น
  • ลิแกนด์บางชนิดมีชื่อเฉพาะ เช่น แอมโมเนีย (ammonia) NH3 เมื่อเป็นลิแกนด์จะเรียกว่า แอมมีน (ammine) น้ำ H2O เมื่อเป็นลิแกนด์จะเรียกว่า อะควา (aqua)เป็นต้น
  • ให้ใช้เลขฮินดูอารบิกในการบอกประจุของไอออนเชิงซ้อน [10]

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอใหม่ของ IUPAC ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก นักเคมีจึงนิยมอ่านชื่อตามข้อกำหนดเดิม เช่น ชื่อลิแกนด์ยังคงเปลี่ยนชื่อท้ายเป็นเสียง -o โดยตัด -ide เป็น -o เช่น cyanide เปลี่ยนเป็น cyano, chloride เปลี่ยนเป็น chloro หรือ iodide เปลี่ยนเป็น iodo เป็นต้น และมีการระบุสถานะออกซิเดชันของอะตอมกลางด้วยตัวเลขโรมัน

รูป 5: ไอออนเชิงซ้อนนี้มีชื่อตามระบบของ IUPAC ว่า pentaamminenitrocobalt (II) ion

ตัวอย่าง:

  • [CoCl(NH3)5]Cl2

IUPAC อ่านชื่อว่า pentaamminechloridocobalt(2+) chloride

ข้อกำหนดเดิม อ่านชื่อว่า pentaamminechlorocobalt(III) chloride

  • [AuF4]-

IUPAC อ่านชื่อว่า tetrafluoridoaurate(1-)

ข้อกำหนดเดิม อ่านชื่อว่า tetrafluoroaurate(III)

  • K4[Fe(CN)6]

IUPAC อ่านชื่อว่า potassium hexacyanidoferrate(II)

หรือ potassium hexacyanidoferrate(4-)

หรือ tetrapotassium hexacyanidoferrate

ข้อกำหนดเดิม อ่านชื่อว่า potassium hexacyanoferrate(II)


อนึ่ง สารประกอบโลหะอินทรีย์จะมีวิธีการอ่านชื่อที่แตกต่างออกไป

ใกล้เคียง

สารประกอบโคออร์ดิเนชัน สารประกอบอินทรีย์ สารประกอบ สารประกอบอะลิฟาติก สารประกอบของแก๊สมีสกุล สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบไอออนิก สารประกอบออร์กาโนฟอสฟอรัส สารปรอท สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก